fbpx

“สไตล์มินิมอล” คำที่ไม่ว่าคุณจะเป็นสายแต่งบ้านหรือไม่ ก็ต้องได้ยินและได้เห็นกันบ่อย ๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากันอย่างแน่นอน และเมื่อพูดถึงสไตล์มินิมอล ทุก ๆ คนก็คงจะนึกถึงภาพของเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ดูเรียบ ๆ สบายตา แต่สามารถเพิ่มจุดเด่นและเอกลักษณ์ให้กับบ้านได้อย่างพอดี๊ พอดี ยิ่งถ้าใครเป็นสายที่ชอบให้บ้านดูสะอาดตาอยู่ตลอดเวลาแล้วล่ะก็ การใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้ตัดกับสีเรียบ ๆ อย่างเช่นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน บอกเลยว่าลงตัวสุด ๆ

แต่กว่าจะได้ออกมาเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้สักหนึ่งอย่าง รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วการเลือกไม้มาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์นั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากจะส่งผลต่อลายไม้ ความสวยงาม ความแข็งแรง และความคุ้มค่าที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อเลยล่ะ โดยไม้ที่ได้รับความนิยมในการนำมาทำเฟอร์นิเจอร์นั้นก็มักจะเป็น “ไม้อัด” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ไม้อัดฟิล์มดำ” ที่มีคุณสมบัติแบบ “ถูกทุกข้อ” เหมาะที่จะเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์แบบ 100%

วันนี้ เราเลยจะชวนทุกคนไปเปิดทุกคุณสมบัติของ “ไม้อัดฟิล์มดำ” กัน !

ไม้อัดฟิล์มดำคืออะไร ?

ไม้อัดฟิล์มดำ คือ ไม้อัดที่ผ่านการอัดโดยการอัดสลับชั้นระหว่างแผ่นไม้ที่อัดด้วยกาว และชั้นที่อัดด้วยกาวเคลือบฟิล์มดำกันน้ำ ปิดขอบ และพ่นสีกันน้ำบริเวณขอบ ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำมีคุณสมบัติในการกันน้ำ มีความแข็งแรง ทนทาน ทนต่อสารเคมี มีความยึดเกาะที่ดีกว่า แตกต่างจากไม้อัดยางธรรมดา ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการนำไปใช้กับงานก่อสร้าง งานฐานราก งานทำพื้น ตีแบบหล่อเสา และนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์

หลังจากที่ได้รู้จักกันไปแล้วว่า ไม้อัดฟิล์มดำคืออะไร ในหัวข้อถัดไป เราก็จะมาเจาะลึกถึงเกรดของไส้ไม้อัดฟิล์มดำกันต่อเลย

เกรดของไส้ไม้อัดฟิล์มดำ

จุดเด่นของไม้อัดฟิล์มดำเลยก็คือ “ไส้ไม้” ที่ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำถูกแบ่งออกเป็นเกรด ๆ โดยชนิดของไส้ไม้อัดฟิล์มดำสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ “ไส้ต่อ” และ “ไส้เต็ม”

ไส้ต่อ (Veneer Core) คือ ไม้ที่ใช้ในการสร้างแผ่นไม้อัดฟิล์มดำที่ถูกนำมาเรียงต่อกันเพื่อสร้างเป็นแผ่นไม้อัดฟิล์ม โดยไส้ต่อมักจะมีความแข็งแรงและความสมดุลที่ดี ส่งผลให้ได้ไม้อัดฟิล์มดำที่มีคุณภาพสูง

และอีกชนิดคือ ไส้เต็ม (Full Core) หรือ แกรนูเลต (granulette) ก็คือลวดไม้หรือชิ้นไม้ขนาดเล็กที่ถูกบีบอัดและนำมาก่อเป็นแผ่นใหญ่ ทำให้ไส้เต็มมักมีความแข็งแรงมากกว่าไส้ต่อ แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความสามารถในการสมดุลน้อยกว่าไส้ต่อ

การจะเลือกไม้อัดฟิล์มดำด้วยชนิดของไส้ไม้ต่าง ๆ จึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาจุดประสงค์ในการใช้งาน ให้เหมาะกับคุณสมบัติของไม้อัดฟิล์มดำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไส้ต่อมักมีลวดลายเรียบร้อยและสมดุลมากกว่าไส้เต็ม ในขณะที่ไส้เต็มมักมีความแข็งแรงมากกว่าแต่อาจมีความไม่สมดุลในบางส่วน ดังนั้นควรพิจารณาจากคุณสมบัติและความต้องการใช้ในแต่ละงาน เพื่อให้เลือกได้อย่างเหมาะสมที่สุด

คุณสมบัติของไม้อัดฟิล์มดำ

ก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกใช้ไม้อัดสักหนึ่งชนิดมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องมีอายุการใช้งานยาวนาน และทนทานต่อทุกสถานการณ์ ถึงแม้ผู้คนหลายคนมักจะเชื่อว่า “ของแพง ย่อมต้องคุณภาพดีกว่าของถูก” แต่ว่าความเชื่อนี้จะต้องหมดไป เมื่อได้รู้จักกับ “ไม้อัดฟิล์มดำ” ไม้อัดที่ทั้งราคาถูก แต่คุณภาพคุ้มค่าเกินราคาไปมาก

มาดูต่อเลยว่าคุณสมบัติแต่ละอย่างของไม้อัดฟิล์มดำ ทั้ง 4 ข้อ ดังนี้

1. สามารถกันน้ำได้ดี

ไม้อัดฟิล์มดำในทุกเกรด จะถูกนำไปเคลือบฟิล์มดำทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวไม้ ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำมีจุดเด่นในเรื่องของคุณสมบัติ “กันน้ำ” และนอกจากจะกันน้ำแล้ว ไม้อัดฟิล์มดำก็ยังทนต่อแดด ฝน กันสารเคมีและปูนทุกชนิดได้ดีอีกด้วย 

2. แข็งแรง ทนทาน ยากต่อการเกิดรอยขีดข่วน

ใครที่ที่บ้านมีเด็กหรือสัตว์เลี้ยงแสนซน จะต้องรักคุณสมบัติข้อนี้ของไม้อัดฟิล์มดำอย่างแน่นอน เพราะไม้อัดฟิล์มดำทุกชิ้นจะถูกเลือกให้ลายเสี้ยนไม้หันไปในทิศทางเดียวกัน และด้วยความที่ไม้อัดฟิล์มดำมีการติดฟิล์มทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำมีความทนทานต่อแรงบิด กด เฉือน และไม้ก็ยังเกิดรอยขีดข่วนได้ยาก เหมาะกับบ้านที่มีเด็กหรือสัตว์เลี้ยงสุด ๆ ไปเลยล่ะ

3. ไม่มีสารพิษ

ไม้อัดฟิล์มดำทุกเกรดจะถูกเคลือบด้วยฟิล์ม Phenolic Resin ที่ถูกสังเคราะห์และสร้างขึ้นมาจากโพลิเมอร์สังเคราะห์จากธรรมชาติ แต่ถูกยึดตรึงด้วยกาว Melamine หรือ Phenol Formaldehyde ที่ถูกทำขึ้นมาจากพลาสติก ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำจึงไม่มีแร่ใยหิน ไม่มีสารตะกั่วและปรอท ซึ่งเป็นสารที่อันตรายต่อร่างกายมนุษย์นั่นเอง ต่อให้ตั้งอยู่ในบ้านหรือสูดดมเข้าไปมากเท่าไร ก็ไม่มีปัญหา!

4. มีหลายขนาด น้ำหนักเบา ราคาถูก

ไม้อัดฟิล์มดำมักจะมีขนาดตั้งแต่ 10 มม. ไปจนถึง 25 มม. โดยแต่ละความหนาจะมีขนาดอยู่ที่ 1.22 x 2.44 เมตร มีน้ำหนักเพียง 22 – 33.5 กิโลกรัม ทำให้สามารถจัดส่งไม้อัดฟิล์มดำไปถึงหน้าบ้านหรือโรงงานได้ง่าย ๆ และมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่เพียง 500 – 600 บาทต่อแผ่น นอกจากนี้ ผู้ซื้อก็ยังสามารถเลือกชนิดไม้อัดที่เหมาะกับงานเฟอร์นิเจอร์ที่ตนต้องการได้อีกด้วย

เอาหละ ! เมื่อเข้าใจทุกส่วนเกี่ยวกับไม้อัดฟิล์มดำแล้ว เพียงเท่านี้ก็คงจะพอรู้กันแล้วว่า ทำไมไม้อัดฟิล์มดำถึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ไม่ว่าจะด้วยความแข็งแรง ทนทาน ราคาถูก มีหลายตัวเลือกให้ได้เลือกสรรกันอย่างจุใจ ก็ล้วนแต่เป็นคุณสมบัติที่ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำเป็นไม้อัดชั้นเลิศที่ผู้คนมักจะนึกถึงเป็นอันดับต้น ๆ และยิ่งพรีเมียมเข้าไปอีก เมื่อไม้อัดฟิล์มดำนั้นมาจาก AJ Plywood บริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายไม้อัดตราจระเข้เบอร์หนึ่งของประเทศ
สำหรับใครที่มีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกซื้อไม้อัดฟิล์มดำ ก็สามารถติดต่อเราเข้ามาทางเพจ Facebook หรือแอด Line มาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย โดยเรามีช่างผู้ชำนาญการคอยให้คำปรึกษาอยู่เสมอ

ไม้อัด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอาไม้แผ่นบางหรือวีเนียร์ (Veneer) โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุงหรือผ่า ให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบางๆ หลายแผ่นมาอัดเข้าด้วยกัน โดยใช้กาวเป็นวัสดุยึดตรึง แผ่นไม้ที่นำมาอัดเข้าด้วยกันจะต้องวางในลักษณะที่แนวเสี้ยนขวางตั้งฉากซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในด้านความแข็งแรง ทั้งยังช่วยลดการขยายและหดตัวในแนวระนาบของแผ่นไม้ให้เหลือน้อยที่สุด จากนั้นนำไปผ่านการอัดด้วยความร้อน (Hot Press) เพื่อทำให้ไม้อัดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจากกระบวนการนี้จะทำให้แผ่นไม้อัดมีความหนาแน่นสูง กระบวนการผลิตไม้อัดที่ผ่านการอัดด้วยความร้อนและแรงดันนั้น นอกจากจะทำให้ความหนาแน่นของเนื้อไม้สูงกว่าไม้จริง (Solid) เป็นอย่างมากแล้ว ลวดลายบนผิวหน้าที่เป็นแผ่นใหญ่และต่อเนื่องของ Veneer ยังให้ความสวยงามอีกด้วย

กระบวนการผลิตไม้อัด
  • เริ่มจากกระบวนการนำซุง เปิดปีกไม้ โดยเครื่องเลื่อยสายพาน คือการตัดเปลือกนอกออก ให้เหลือเนื้อไม้ตามหน้าตัดซุง เป็นสี่เหลี่ยม
  • ส่งซุงเข้าต้ม เพื่อให้ไม้นิ่ม และดำเนินการสไลด์ตามแนวยาวตามขนาดท่อนซุง ออกมาเป็นแผ่นเยื่อไม้บางๆ (ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าวีเนียร์) ความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.8 -1.2 มม.
  • นำวีเนียร์ที่ได้ ผ่านเครื่องตัด เพื่อตัดริมขอบวีเนียร์ ให้เป็นเส้นตรง และตัดความยาวที่เกินมากไปออก
  • (ขั้นตอนนี้ โดยส่วนมาก จะใช้เฉพาะเกรด B ขึ้นไป ถ้าเป็นเกรดต่ำๆ หน่อย จะอาศัยวางเรียงกันโดยไม่ทำตามขั้นตอนนี้) นำวีเนียร์ ที่ตัดริม มาเย็บให้ติดกัน โดยใช้กระดาษกาวสำหรับปิดวีเนียร์ หรืออาจจะใช้เครื่องเย็บวีเนียร์ ที่เป็นลักษณะใช้เส้นกาวเย็บแทนเส้นด้าย จนได้หน้ากว้างประมาณ 1,240 มม.,ความยาวประมาณ 2,450 มม. และ หน้ากว้างประมาณ 2,450 มม., ความยาวประมาณ 1,240 มม.
  • นำวีเนียร์ที่ได้ ทากาวลาเท็กซ์อุตสาหกรรม โดยมาวางเป็นชั้นๆ สลับลายตามแนวขวางลาย และตามแนวขนานลาย ( ที่ต้องวางสลับลายระหว่างชั้นเช่นนี้ เพื่อให้เกิดการดึงตัวระหว่างผิวภายในที่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน ไม่ให้เกิดการบิดตัวโก่งงอ เมื่อทำเป็นแผ่นสำเร็จ ) จนได้ความหนาที่ต้องการ แต่จะวางทับเป็นชั้นเลขคี่เสมอ ถ้าเป็นไม้อัดเกรดดีหน่อย มักจะวางชั้นให้ได้ความหนาเกินขนาดที่ต้องการไว้ก่อน
  • นำวีเนียร์ที่วางเสร็จแล้ว ขึ้น Hot Press (เครื่องอัดแรงดันสูง เครื่องนี้จะเป็นเครื่องอัดทับ ขนาดใหญ่ ที่มีแผ่นความร้อน ถ่ายผ่านจากบอยล์เลอร์ เข้ามา ปรับตั้งอุณหภูมิได้เกิน 100 องศาขึ้นไป ) อัดทับลงไป เพื่อให้แผ่นวีเนียร์อัดประสานติดกัน พร้อมเนื้อกาว

ข้อมูลจาก : paandcasecenter