fbpx

หลาย ๆ คนเวลาจะเลือกซื้ออะไรสักอย่าง ก็มักจะใช้เวลาในการเสิร์ชหาและทำการเปรียบเทียบข้อมูลจนกว่าจะแน่ใจว่าเงินที่จะออกจากกระเป๋าของเราไปจะแลกกลับมาด้วยสินค้าที่มีคุณภาพดี ไม่ว่าจะเป็นสินค้าขนาดเล็ก ไปจนถึงสินค้าชิ้นใหญ่ ๆ และจำเป็นต้องนำสินค้าเหล่านี้ไปใช้เป็นรากฐานในการต่อยอดและสร้างสิ่งอื่น ๆ อีกมากมาย อย่างเช่นสินค้าประเภท “ไม้อัด” ที่ต้องใส่ใจในการเลือกซื้ออย่างพิถีพิถันในทุกขั้นตอน

แต่จะดีกว่ามั้ย? หากเรามี “คู่มือ” ที่แค่เปิดอ่าน ก็สามารถรู้ได้ทันทีว่าเราต้องมองหาอะไร ต้องเปรียบเทียบในข้อไหน และต้องเลือกซื้อไม้อัดจากแบรนด์อะไร หากคุณกำลังมองหาคู่มือที่ว่านั้นอยู่ แล้วกำลังเปิดอ่านบทความนี้ ก็เท่ากับว่าคุณมาถูกทางแล้ว !

เพราะวันนี้ AJ Plywood จะเปิด “คู่มือการเลือกซื้อไม้อัดคุณภาพดี” ให้เห็นกันแบบละเอียดสุด ๆ เรียกได้ว่าแค่มีคู่มือนี้ ก็มั่นใจได้เลยว่าจะได้ไม้อัดคุณภาพระดับพรีเมียมมาไว้ในครอบครองอย่างแน่นอน การเลือกซื้อไม้อัดจะต้องมองหาอะไร หรือควรรู้อะไรบ้าง คู่มือนี้มีคำตอบ!

1. ขนาดและความหนาของไม้อัด

ก่อนอื่นเลย เราจะต้องรู้ถึง “ขนาดและความหนาของไม้อัด” ที่เราต้องการก่อน โดยขนาดมาตรฐานของไม้อัดโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 4×8 ฟุต หรือกว้างประมาณ 1.2×2.4 ม. ซึ่งถือว่าเป็นขนาดมาตรฐานเดียวกันของไม้อัดทุกแบบ ไม่ว่าจะเป็นไม้อัดทั่วไป หรือไม้อัดฟิล์มดำ

ในส่วนของความหนาของไม้อัดนั้นก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่เราควรรู้และกำหนดไปก่อนไปเดินเลือกซื้อ เพื่อประหยัดเวลาและลดโอกาสที่จะได้ไม้อัดที่ไม่สามารถนำไปใช้งานในจุดประสงค์ที่เราต้องการได้ เนื่องจากความหนาที่แตกต่างกันออกไปของไม้อัดแต่ละแผ่น แต่ละชนิด ก็จะมีจุดประสงค์ในการนำไปใช้งานที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งถ้าหากผู้ซื้อต้องการไม้อัดที่มีขนาดเต็ม ก็จะต้องเลือกซื้อไม้อัดที่ได้รับมาตรฐาน มอก. ด้วยเช่นกัน

2. แบรนด์และแหล่งที่มาของไม้อัด

การจะเลือกซื้อสินค้าหลาย ๆ อย่าง เรายังต้องดูถึงแบรนด์ แหล่งที่มา และความน่าเชื่อถือของแบรนด์นั้น ๆ ก่อนจะทำการตัดสินใจจ่ายเงินซื้อ การเลือกซื้อไม้อัดก็เช่นกัน เราควรศึกษาข้อมูลของแบรนด์หรือผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย ไปจนถึงแหล่งที่มาของไม้อัดนั้น ๆ ว่าผลิตที่ประเทศอะไร และทำการเปรียบเทียบกันหลาย ๆ แบรนด์ หลังจากศึกษาข้อมูลจนแน่ใจแล้ว จากนั้นเราจึงสามารถจ่ายเงินซื้อไม้อัดของแบรนด์นั้นได้อย่างสบายใจ

โดยแหล่งผลิตไม้อัดที่จัดจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยมักจะมาจาก 2 แหล่งผลิตหลัก ๆ คือ “ไม้อัดที่ผลิตในประเทศไทย” ที่จะเป็นไม้อัดที่ผลิตขึ้นในโรงงานที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่เป็นไม้ในประเทศ และ “ไม้อัดนำเข้าจากประเทศจีน” ที่เป็นการนำเข้าไม้อัดมาจากประเทศจีน 100% 

3. จุดประสงค์ในการนำไม้อัดไปใช้งาน

“เราจะนำไม้อัดนี้ไปทำอะไร?” คำถามนี้เป็นคำถามที่ทุก ๆ คนควรถามตัวเองเมื่อมีความคิดที่ว่าต้องการซื้อไม้อัดขึ้นมาในหัว และถ้าหากจะให้ดี ก็ควรจะลิสต์ออกมาเป็นข้อ ๆ เลย ว่า เราจะเอาไม้อัดไปทำอะไร? มีการใช้งานแบบไหน? และไม้อัดแบบไหนที่เราต้องการ? เมื่อตอบคำถามเหล่านี้ได้แล้ว ก็จะทำให้การหาซื้อไม้อัดของคุณง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณมีจุดประสงค์การใช้งานที่ชัดเจนนั่นเอง

4. คุณภาพของไม้อัด

ข้อนี้เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อห้ามมองข้ามโดยเด็ดขาด เพราะไม่ว่าเราจะหาข้อมูลมาดี หรือเตรียมพร้อมมาแค่ไหน แต่การเลือกซื้อไม้อัดนั้นไม่ใช่แค่การที่คุณภาพของไม้ที่นำมาใช้ทำไม้อัดเท่านั้น แต่ควรดูให้ครบถึงคุณภาพในทุก ๆ ข้อ ไม่ว่าจะเป็น คุณภาพของไม้อัด คุณภาพของแผ่นฟิล์มที่ใช้ในการเคลือบ ไปจนถึงคุณภาพของกาวที่ใช้ในการยึดตรึงแผ่นไม้แต่ละชั้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะได้ไม้อัดคุณภาพดี คุณสมบัติครบ ทนทานต่อทุกจุดประสงค์การใช้งานกลับบ้านไป

และจากทั้งหมด 4 ข้อที่ระบุมาในคู่มือฉบับนี้ ก็ต้องขอบอกเลยว่า ไม้อัดจาก AJ Plywood นั้นเหมาะสมเป็นอย่างมากที่จะเป็นตัวเลือกแรกของผู้ที่กำลังมองหาไม้อัด เพราะเราเป็นบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายไม้อัดครบวงจรจาก “ตราจระเข้” มีมาตรฐาน มอก. แบรนด์และแหล่งที่มาเชื่อถือได้ คุณภาพของไม้อัดของเราอยู่ในระดับท็อป และด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี พร้อมคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้สามารถวางใจได้เลยว่า แค่มาหาเรา ก็จบ ครบทุกปัญหาเรื่องไม้อัด!

ทุกวันนี้ เทรนด์ของเฟอร์นิเจอร์และการผลิตเฟอร์นิเจอร์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่หนึ่งสิ่งที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้นั้นก็คือ การใช้ไม้จริงมาทำเฟอร์นิเจอร์น้อยลง และหันมาใช้ไม้อัดที่ทนความชื้นเพิ่มมากขึ้น โดยไม้อัดที่มีคุณสมบัติทนความชื้นที่โด่ดเด่นก็มีด้วยกันอยู่ 2 ตัวนั่นก็คือ ไม้ MDF และ ไม้ HMR

แต่เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ฉันใด ไม้อัดทนความชื้นสองชนิดก็ไม่สามารถอยู่ถ้ำเดียวกันได้ฉันนั้น วันนี้ทุกคนเลยจะมีโอกาสได้เป็นส่วนหนึ่งใน “ศึกเทียบความเหมือนและต่างระหว่างไม้ MDF และไม้ HMR” โดยเราจะเทียบกันให้เห็นชัด ๆ แบบหมัดต่อหมัด ข้อดีต่อข้อดี ข้อเสียต่อข้อเสีย

ให้มันรู้กันไปเลยว่า จะมาเป็นไม้อัดทนความชื้นเหมือนกันไม่ได้ !

ไม้ MDF และไม้ HMR คืออะไร?

ก่อนจะไปเทียบถึงคุณสมบัติ เราก็คงจะต้องมาทำความรู้จักกับไม้ทั้งสองชนิดนี้กันก่อน ว่าเป็นไม้อะไร ผลิตขึ้นมาจากวัสดุไหน และมีคุณสมบัติคร่าว ๆ อย่างไรกันบ้าง

ไม้ MDF หรือ Medium Density Fiber Board เป็นแผ่นใยไม้อัดที่มีความหนาแน่นอยู่ในระดับปานกลาง โดยอาจถูกสร้างขึ้นมาจากไม้ยางพารา หรือไม้ชนิดอื่น ๆ ตามความเหมาะสม โดยขั้นตอนการผลิตจะเริ่มจากการนำเศษไม้หรือชิ้นไม้ที่ถูกบดละเอียดมาผสมเข้ากับวัสดุประสาน และนำไปอัดเป็นแผ่นด้วยเครื่องอัดแรงดันสูงโดยใช้ความร้อน (Hot Press) หลังจากนั้นจึงจะได้แผ่นไม้ที่มีผิวสัมผัสเรียบเนียน เนื้อไม้แน่น และปิดท้ายด้วยการปิดผิวไม้ด้วยแผ่นลามิเนต หรือแผ่นไม้วีเนียร์

ส่วนไม้ HMR หรือ High Moisture Resistance ก็จะมีกรรมวิธีการผลิตเช่นเดียวกันกับไม้ MDF เพียงแต่แผ่นไม้จะถูกอัดประสานด้วยกาวเมลานีนชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันการบวมของไม้เมื่อไม้ต้องไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง และเนื้อของไม้ HMR จะมีสีเขียวซึ่งเป็นสีที่เพิ่มเข้าไปในระหว่างขั้นตอนการผลิต เพื่อให้มีความแตกต่างจากไม้ MDF นั่นเอง

เอาล่ะ เมื่อได้รู้จักผู้เข้าชิงกันแบบพอหอมปากหอมคอแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราจะได้นำไม้อัดทั้ง 2 ชนิดมาดวลกันแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ด้วยความเหมือนและความต่างของไม้อัดแต่ละชนิดกันบ้างแล้วล่ะ !

คุณสมบัติของไม้ MDF และไม้ HMR

ในพาร์ทนี้ เราจะนำคุณสมบัติของทั้งไม้ MDF และไม้ HMR มาเปรียบเทียบกันให้เห็นกันชัด ๆ เลยว่า ภายใต้หัวข้อคุณสมบัติเดียวกันนี้ ไม้อัดชนิดไหนจะมีความเหนือกว่ากัน !

1. ลักษณะทางกายภาพ

ไม้ MDF

  • มีสีน้ำตาลอ่อน เนื้อไม้เนียนละเอียด ผิวเรียบ

ไม้ HMR

  • มีสีเขียว เนื้อไม้เนียนละเอียด ผิวเรียบ สามารถรับน้ำหนักได้ดีกว่าไม้ MDF

2. ค่าความหนาแน่นต่อลูกบาศก์เมตร

ไม้ MDF

  • 700-720 kg/m3

ไม้ HMR

  • 800-1,040 kg/m3

3. การทนต่อความชื้น

ไม้ MDF

  • สามารถทนความชื้นได้ในระดับพอใช้

ไม้ HMR

  • สามารถทนความชื้นได้ดี แต่ไม่ควรนำแผ่นไม้ไปแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน

4. ลักษณะการใช้งาน

ไม้ MDF

  • เหมาะสำหรับการนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์บิลท์อินทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องโดนความชื้น
  • สามารถเจาะหรือฉลุลายเป็นรูปแบบสามมิติ หรือภาพนูนต่ำได้

ไม้ HMR

  • เหมาะสำหรับการนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์บิลท์อินทั่วไป และสามารถนำไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์สำหรับบริเวณที่ต้องโดนความชื้นอย่าง ตู้ใต้อ่างล้างหน้า เคาน์เตอร์ล้างจาน หรือชั้นวางของในห้องน้ำ

5. ข้อจำกัด

ไม้ MDF

  • ไม่กันปลวก
  • แผ่นไม้จะบวมเมื่อถูกนำไปแช่น้ำนาน 30 นาที – 1 ชั่วโมงขึ้นไป

ไม้ HMR

  • ไม่กันปลวก

6. ขนาดและราคา

ไม้ MDF

  • ขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 1.20 x 2.40 ตร.ม.
  • ราคาเริ่มต้นอยู่ที่แผ่นละ 75-80 บาท

ไม้ HMR

  • ขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 1.20 x 2.40 ตร.ม.
  • ราคาเริ่มต้นอยู่ที่แผ่นละ 120-150 บาท

หลังจากที่ได้เทียบความเหมือนและแตกต่างกันไปในทุกหัวข้อแล้ว ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า ไม้อัดทั้ง 2 ชนิดนี้มีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเลือกใช้ไม้อัดควรพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัย โดยเฉพาะปัจจัยสำคัญอย่าง “จุดประสงค์ของการใช้งาน” ที่จะส่งผลต่อการเลือกชนิดของไม้อัด หลังจากนั้นจึงจะสามารถพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ได้อย่างรอบคอบ
แต่หากคุณยังไม่แน่ใจ ไม่รู้ว่าจะเลือกแบบไหนดี ก็สามารถแวะมาที่ AJ Plywood อาณาจักรแห่งไม้อัดได้เลย ! เพราะเรามีไม้อัดทุกชนิดที่ครอบคลุมทุกจุดประสงค์การใช้งาน มีผู้ให้คำปรึกษาที่มีความชำนาญการ ราคาย่อมเยา และยังใช้ไม้อัดคุณภาพดีจาก “ตราจระเข้” อีกด้วย ไม่ว่าจะนึกถึงไม้อัดประเภทไหน ก็อย่าลืมนึกถึง AJ Plywood นะ !

“สไตล์มินิมอล” คำที่ไม่ว่าคุณจะเป็นสายแต่งบ้านหรือไม่ ก็ต้องได้ยินและได้เห็นกันบ่อย ๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมากันอย่างแน่นอน และเมื่อพูดถึงสไตล์มินิมอล ทุก ๆ คนก็คงจะนึกถึงภาพของเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ดูเรียบ ๆ สบายตา แต่สามารถเพิ่มจุดเด่นและเอกลักษณ์ให้กับบ้านได้อย่างพอดี๊ พอดี ยิ่งถ้าใครเป็นสายที่ชอบให้บ้านดูสะอาดตาอยู่ตลอดเวลาแล้วล่ะก็ การใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้ตัดกับสีเรียบ ๆ อย่างเช่นสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน บอกเลยว่าลงตัวสุด ๆ

แต่กว่าจะได้ออกมาเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้สักหนึ่งอย่าง รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วการเลือกไม้มาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์นั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากจะส่งผลต่อลายไม้ ความสวยงาม ความแข็งแรง และความคุ้มค่าที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อเลยล่ะ โดยไม้ที่ได้รับความนิยมในการนำมาทำเฟอร์นิเจอร์นั้นก็มักจะเป็น “ไม้อัด” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ไม้อัดฟิล์มดำ” ที่มีคุณสมบัติแบบ “ถูกทุกข้อ” เหมาะที่จะเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์แบบ 100%

วันนี้ เราเลยจะชวนทุกคนไปเปิดทุกคุณสมบัติของ “ไม้อัดฟิล์มดำ” กัน !

ไม้อัดฟิล์มดำคืออะไร ?

ไม้อัดฟิล์มดำ คือ ไม้อัดที่ผ่านการอัดโดยการอัดสลับชั้นระหว่างแผ่นไม้ที่อัดด้วยกาว และชั้นที่อัดด้วยกาวเคลือบฟิล์มดำกันน้ำ ปิดขอบ และพ่นสีกันน้ำบริเวณขอบ ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำมีคุณสมบัติในการกันน้ำ มีความแข็งแรง ทนทาน ทนต่อสารเคมี มีความยึดเกาะที่ดีกว่า แตกต่างจากไม้อัดยางธรรมดา ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการนำไปใช้กับงานก่อสร้าง งานฐานราก งานทำพื้น ตีแบบหล่อเสา และนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์

หลังจากที่ได้รู้จักกันไปแล้วว่า ไม้อัดฟิล์มดำคืออะไร ในหัวข้อถัดไป เราก็จะมาเจาะลึกถึงเกรดของไส้ไม้อัดฟิล์มดำกันต่อเลย

เกรดของไส้ไม้อัดฟิล์มดำ

จุดเด่นของไม้อัดฟิล์มดำเลยก็คือ “ไส้ไม้” ที่ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำถูกแบ่งออกเป็นเกรด ๆ โดยชนิดของไส้ไม้อัดฟิล์มดำสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ “ไส้ต่อ” และ “ไส้เต็ม”

ไส้ต่อ (Veneer Core) คือ ไม้ที่ใช้ในการสร้างแผ่นไม้อัดฟิล์มดำที่ถูกนำมาเรียงต่อกันเพื่อสร้างเป็นแผ่นไม้อัดฟิล์ม โดยไส้ต่อมักจะมีความแข็งแรงและความสมดุลที่ดี ส่งผลให้ได้ไม้อัดฟิล์มดำที่มีคุณภาพสูง

และอีกชนิดคือ ไส้เต็ม (Full Core) หรือ แกรนูเลต (granulette) ก็คือลวดไม้หรือชิ้นไม้ขนาดเล็กที่ถูกบีบอัดและนำมาก่อเป็นแผ่นใหญ่ ทำให้ไส้เต็มมักมีความแข็งแรงมากกว่าไส้ต่อ แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีความสามารถในการสมดุลน้อยกว่าไส้ต่อ

การจะเลือกไม้อัดฟิล์มดำด้วยชนิดของไส้ไม้ต่าง ๆ จึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาจุดประสงค์ในการใช้งาน ให้เหมาะกับคุณสมบัติของไม้อัดฟิล์มดำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไส้ต่อมักมีลวดลายเรียบร้อยและสมดุลมากกว่าไส้เต็ม ในขณะที่ไส้เต็มมักมีความแข็งแรงมากกว่าแต่อาจมีความไม่สมดุลในบางส่วน ดังนั้นควรพิจารณาจากคุณสมบัติและความต้องการใช้ในแต่ละงาน เพื่อให้เลือกได้อย่างเหมาะสมที่สุด

คุณสมบัติของไม้อัดฟิล์มดำ

ก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกใช้ไม้อัดสักหนึ่งชนิดมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องมีอายุการใช้งานยาวนาน และทนทานต่อทุกสถานการณ์ ถึงแม้ผู้คนหลายคนมักจะเชื่อว่า “ของแพง ย่อมต้องคุณภาพดีกว่าของถูก” แต่ว่าความเชื่อนี้จะต้องหมดไป เมื่อได้รู้จักกับ “ไม้อัดฟิล์มดำ” ไม้อัดที่ทั้งราคาถูก แต่คุณภาพคุ้มค่าเกินราคาไปมาก

มาดูต่อเลยว่าคุณสมบัติแต่ละอย่างของไม้อัดฟิล์มดำ ทั้ง 4 ข้อ ดังนี้

1. สามารถกันน้ำได้ดี

ไม้อัดฟิล์มดำในทุกเกรด จะถูกนำไปเคลือบฟิล์มดำทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวไม้ ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำมีจุดเด่นในเรื่องของคุณสมบัติ “กันน้ำ” และนอกจากจะกันน้ำแล้ว ไม้อัดฟิล์มดำก็ยังทนต่อแดด ฝน กันสารเคมีและปูนทุกชนิดได้ดีอีกด้วย 

2. แข็งแรง ทนทาน ยากต่อการเกิดรอยขีดข่วน

ใครที่ที่บ้านมีเด็กหรือสัตว์เลี้ยงแสนซน จะต้องรักคุณสมบัติข้อนี้ของไม้อัดฟิล์มดำอย่างแน่นอน เพราะไม้อัดฟิล์มดำทุกชิ้นจะถูกเลือกให้ลายเสี้ยนไม้หันไปในทิศทางเดียวกัน และด้วยความที่ไม้อัดฟิล์มดำมีการติดฟิล์มทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำมีความทนทานต่อแรงบิด กด เฉือน และไม้ก็ยังเกิดรอยขีดข่วนได้ยาก เหมาะกับบ้านที่มีเด็กหรือสัตว์เลี้ยงสุด ๆ ไปเลยล่ะ

3. ไม่มีสารพิษ

ไม้อัดฟิล์มดำทุกเกรดจะถูกเคลือบด้วยฟิล์ม Phenolic Resin ที่ถูกสังเคราะห์และสร้างขึ้นมาจากโพลิเมอร์สังเคราะห์จากธรรมชาติ แต่ถูกยึดตรึงด้วยกาว Melamine หรือ Phenol Formaldehyde ที่ถูกทำขึ้นมาจากพลาสติก ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำจึงไม่มีแร่ใยหิน ไม่มีสารตะกั่วและปรอท ซึ่งเป็นสารที่อันตรายต่อร่างกายมนุษย์นั่นเอง ต่อให้ตั้งอยู่ในบ้านหรือสูดดมเข้าไปมากเท่าไร ก็ไม่มีปัญหา!

4. มีหลายขนาด น้ำหนักเบา ราคาถูก

ไม้อัดฟิล์มดำมักจะมีขนาดตั้งแต่ 10 มม. ไปจนถึง 25 มม. โดยแต่ละความหนาจะมีขนาดอยู่ที่ 1.22 x 2.44 เมตร มีน้ำหนักเพียง 22 – 33.5 กิโลกรัม ทำให้สามารถจัดส่งไม้อัดฟิล์มดำไปถึงหน้าบ้านหรือโรงงานได้ง่าย ๆ และมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่เพียง 500 – 600 บาทต่อแผ่น นอกจากนี้ ผู้ซื้อก็ยังสามารถเลือกชนิดไม้อัดที่เหมาะกับงานเฟอร์นิเจอร์ที่ตนต้องการได้อีกด้วย

เอาหละ ! เมื่อเข้าใจทุกส่วนเกี่ยวกับไม้อัดฟิล์มดำแล้ว เพียงเท่านี้ก็คงจะพอรู้กันแล้วว่า ทำไมไม้อัดฟิล์มดำถึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ไม่ว่าจะด้วยความแข็งแรง ทนทาน ราคาถูก มีหลายตัวเลือกให้ได้เลือกสรรกันอย่างจุใจ ก็ล้วนแต่เป็นคุณสมบัติที่ทำให้ไม้อัดฟิล์มดำเป็นไม้อัดชั้นเลิศที่ผู้คนมักจะนึกถึงเป็นอันดับต้น ๆ และยิ่งพรีเมียมเข้าไปอีก เมื่อไม้อัดฟิล์มดำนั้นมาจาก AJ Plywood บริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายไม้อัดตราจระเข้เบอร์หนึ่งของประเทศ
สำหรับใครที่มีข้อสงสัย หรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกซื้อไม้อัดฟิล์มดำ ก็สามารถติดต่อเราเข้ามาทางเพจ Facebook หรือแอด Line มาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย โดยเรามีช่างผู้ชำนาญการคอยให้คำปรึกษาอยู่เสมอ

การที่ผู้บริโภคจะมองหาแหล่งซื้อสินค้าสักแหล่งหนึ่ง เราย่อมมองหาแหล่งซื้อที่มีครบ จบทุกอย่างได้ในร้านเดียว ไม่ต้องเสียเวลาไปเดินหาซื้อหรือมองหาแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ให้เสียเวลา เพราะความต้องการของผู้บริโภค ก็คือความสะดวก รวดเร็ว แต่ยังไว้ใจได้ว่าจะได้สินค้าคุณภาพดีติดมือกลับบ้านไป

โดยเฉพาะสินค้าที่มีขนาดใหญ่อย่างเช่น “ไม้อัด” ที่มีหลายแบบ หลายขนาด จะให้เสียเวลาไปหลายที่เพื่อให้ได้ไม้อัดหลายชนิดก็คงจะใช่เรื่อง แต่เมื่อมาที่ AJ Plywood ก็สามารถจบทุกปัญหาและตอบทุกโจทย์ความต้องการในเรื่องไม้อัดได้ในที่เดียว ไม่ว่าคุณจะต้องการไม้อัดประเภทไหน เกรดอะไร ขนาดเท่าไร เราก็มีให้คุณพร้อมสรรพทุกการใช้งาน 

วันนี้ เราเลยจะพาทุกคนไปท่องอาณาจักรไม้อัด “AJ Plywood” กัน ! จะได้รู้กันไปเลยว่า ทำไมเราถึงได้ชื่อว่าเป็นอาณาจักรแห่งไม้อัด และเป็นบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายไม้อัดคุณภาพดีตราจระเข้ อันดับต้น ๆ ของประเทศ

AJ Plywood มีไม้อัดกี่ประเภท ?

ที่อาณาจักร AJ Plywood เรามีไม้อัดด้วยกันทั้งหมด 7 แบบด้วยกัน นั่นก็คือ ไม้อัดยาง, ไม้ยางพารา, ไม้อัด MDF, ไม้อัด HMR, ไม้ปาติเกิลบอร์ดและไม้อัด OSB, ไม้อัดก่อสร้าง (Construction Plywood), ไม้ฟิล์ม และ ไม้โครง

ไม้อัดแต่ละแบบ มีลักษณะเป็นอย่างไร และมีคุณสมบัติอะไรบ้าง เราไปดูพร้อม ๆ กันเลย ! 

1. ไม้อัดยาง

เรามีไม้อัดยางด้วยกันทั้งหมด 4 แบบ ดังนี้

  • ไม้อัดยางทั่วไป
  • ไม้อัดเฟอร์นิเจอร์
  • ไม้อัดสัก
  • ไม้โค้ง

เรียกได้ว่าครอบคลุมทุกจุดประสงค์การใช้งาน ไม่ว่าคุณจะอยากได้ไม้อัดยางไปใช้สำหรับการตกแต่งภายใน ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำฝ้าเพดาน หรือใช้ในงานแพ็คสินค้า งานปูพื้น หรืองานกั้นผนัง ก็สามารถแวะมาที่เราเพียงที่เดียวได้เลย

2. ไม้ยางพารา

ไม้ยางพาราเป็นที่นิยมมากในการนำไปใช้ในการสร้างอาคารหรือบ้านไม้ โดยส่วนมากจะต้องเป็นอาคารที่จำเป็นต้องมีส่วนของโครงสร้างที่ต้องรับแรงอัดปริมาณมาก เช่น เสา ฝา เสาเข็ม เนื่องจากไม้ยางพาราเป็นไม้ที่มีความคงทนในการใช้งาน และยังคงทนต่อเชื้อราและแมลงต่าง ๆ รวมถึงยังมีความยืดหยุ่น แข็งแรง และไม้มีความสวยเป็นธรรมชาติอีกด้วย

3. ไม้อัด MDF & HMR

ไม้อัด MDF คือ แผ่นใยไม้อัดที่ผลิตขึ้นจากการนำเศษและใยไม้มาสับและบดให้ละเอียด นำมาผนวกเป็นเนื้อเดียวกันด้วยการอัดความดันสูงและการใช้กาว ปิดผิวหน้าไม้อัดด้วยไม้วีเนียร์ จนมีลักษณะคล้ายกับไม้อัด แต่ส่วนของโครงสร้างภายในจะแตกต่างออกไปแล้วแต่ชนิดของเศษและใยไม้

ในส่วนของ ไม้อัด HMR คือ แผ่นใยไม้อัดทนความชื้น หรือก็คือการนำแผ่นไม้ MDF มาผสมสารทนความชื้นนั่นเอง ทำให้ไม้อัด HMR มีคุณสมบัติคล้ายกับไม้อัด MDF แต่มีคุณสมบัติในการทนความร้อนและความชื้นเพิ่มมากขึ้น

4. ไม้ปาติเกิลบอร์ด (Particle Board) และไม้อัด OSB

ไม้ปาติเกิล คือ แผ่นไม้ที่ผลิตจากการนำเศษไม้ยางพาราขนาดเล็กหรือเศษไม้บดมาอัดบดเป็นแผ่นและผสมด้วยกาว และนำไปผ่านกระบวนการทางเคมีและถูกปิดทับกระดาษฟอยล์ กระดาษพิมพ์ลายไม้ หรือแผ่นเมลามีน มีราคาถูก นิยมนำมาใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์

และในขณะเดียวกัน ไม้อัด OSB ก็คือแผ่นไม้ที่ผลิตจากการนำชิ้นไม้ขนาดเล็กมาอัดรวมกัน เหมือนกันกับไม้ปาติเกิล เพียงแต่ไม้อัด OSB มักจะเป็นที่นิยมในการใช้ในงานก่อสร้าง งานบรรจุภัณฑ์ และงานตกแต่งภายใน

5. ไม้อัดก่อสร้าง (Construction Plywood)

ไม้อัดก่อสร้าง หรือ ไม้แบบก่อสร้าง คือ โครงสร้างชั่วคราวที่ทำจากไม้ ใช้สำหรับติดตั้งแม่แบบในงานหล่อคอนกรีต คอนกรีตเสริม รวมถึงเป็นโครงสร้างต่าง ๆ ของอาคาร เช่น เสา คาน พื้นถนน มีหน้าที่รับน้ำหนักของคอนกรีต และสร้างขอบเขตในการเทให้คอนกรีตออกมาในรูปทรงที่ต้องการ

6. ไม้ฟิล์ม

เป็นไม้อัดสลับชั้นที่อัดด้วยกาวกันน้ำ และนำมาอัดทับด้วยแผ่นฟิล์มอีกหนึ่งชั้น ทำให้ไม้อัดฟิล์มมีความมัน กันน้ำ มีความยึดเกาะระหว่างชั้นของไม้ดี ทนทานต่อสารเคมีและการขูดขีด สามารถนำกลับมาใช้งานได้หลายครั้งเหมาะสำหรับนำมาใช้เป็นไม้แบบในงานหล่อคอนกรีต

7. ไม้โครง

เป็นประเภทไม้ที่มักจะถูกนำไปใช้ในการทำเป็นโครงสร้างหลักของเฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่งผนัง ไปจนถึงการทำประตูหรือหน้าต่าง โดยจะนำไม้โครงไปใช้เป็นโครงสร้างเพื่อเสริมให้มีความแข็งแรงมากขึ้น หลังจากนั้นสามารถนำวัสดุอื่น ๆ มาปิดทับอีกครั้งได้

เป็นยังไงกันบ้าง? การท่องอาณาจักร AJ Plywood น่าตื่นตาตื่นใจใช่ไหมล่ะ ? และนอกจากชนิดและคุณสมบัติของไม้อัดทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว ก็ต้องขอบอกเลยว่า สินค้าจาก AJ Plywood นั้นมีแต่สินค้าระดับเกรด A ที่ถ้าซื้อไป ลูกค้าไม่มีทางผิดหวังกับคุณภาพไม้อัดของเราอย่างแน่นอน

ใครที่เป็นสายช่างฝีมือ สายซ่อมและสร้างบ้านด้วยตัวเอง หรือชื่นชอบเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นไม้ ก็จะต้องรู้จักกับหนึ่งในวัสดุหลักในการสร้างสิ่งต่าง ๆ อย่าง “ไม้อัดยาง” กันอย่างแน่นอน แต่รู้กันมั้ยว่า ไม้อัดยางที่เราเห็นและใช้กันอยู่บ่อย ๆ นั้นมีหลากหลายประเภท และแต่ละประเภทงานที่เหมาะกับการใช้ไม้อัดยางที่ต่างกันออกไปด้วยนะ ไม่ใช่ว่าไม้อัดยางอย่างเดียวจะเหมาะกับงานทุกประเภทนะเอ้อ ! วันนี้ AJ Plywood ก็จะขอพาทุกคนไปดูกันว่า ไม้อัดยางคืออะไร และเหมาะกับการใช้งานประเภทไหนบ้าง?

ไม้อัดยางคืออะไร?

ไม้อัดยาง หรือ ไม้อัดสลับชั้น คือ ไม้อัดที่ถูกผลิตขึ้นจากไม้ซุงเบญจพรรณประเภทต่าง ๆ และนำมาปอกหรือฝานให้เป็นแผ่นไม้บาง ๆ ที่มีหลากหลายขนาด หลังจากนั้นจึงนำแผ่นไม้ที่ได้มาผสมกาวและนำเข้าเครื่องอัดเพื่อกดทับให้ไม้อัดมีความแข็งแรงและมีขนาดความหนาที่เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท

โดยความหนาของไม้อัดยางจะอยู่ที่จำนวนของแผ่นไม้ที่วางซ้อนกันและถูกกดอัดลงมาด้วยความร้อนให้ได้ความหนาตามเครื่องกดทับที่มีการตั้งค่าเอาไว้ล่วงหน้า ซึ่งโดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่ที่ไม่ค่อยรู้เรื่องงานช่าง หรืออาจรู้ไม่ลึกนัก จะชอบเข้าใจผิดว่าไม้อัดยางคือการที่ไส้ไม้ถูกทำขึ้นมาจาก “ไม้ยาง” แต่จริง ๆ แล้ว ไส้ของไม้อัดยางก็ทำมาจากไม้ชนิดอื่น ๆ เพียงแต่นำหน้าไม้มาปิดอัดด้วยไม้ยางเท่านั้นเอง

ไม้อัดยางมีกี่ประเภท ?

ไม้อัดยางนั้นนอกจากจะมีหลากหลายประเภทแล้ว แต่ละประเภทก็ยังมีคุณสมบัติและความหนาที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย เอาล่ะ เรามาค่อย ๆ ดูเจาะลึกกันไปที่ละแบบเลยดีกว่า !

ไม้อัดยางทั่วไป

ไม้อัดยางทั่วไป เป็นไม้อัดยางที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดในบรรดาไม้อัดยางทุกประเภท และด้วยความหนาแน่นที่น้อย ทำให้ไม้อัดยางทั่วไปมีราคาไม่แพง การนำไม้อัดยางทั่วไปมาใช้งานก็ไม่ยาก ขอแค่มีเพียงเลื่อยกับตะปูก็พร้อมเริ่มงาน แต่ถึงแม้จะมีความหนาแน่นต่ำ ทำให้สามารถรับแรงและน้ำหนักได้น้อย แต่ไม้อัดยางทั่วไปนั้นก็มีความทนทานพอสมควร ยกตัวอย่างเช่น ไม้อัดยางทั่วไปของ AJ Plywood ที่แกนของไม้อัดทำมาจากไม้เนื้อแข็งผสม หรือ ยูคาลิปตัส และมีความหนาอยู่ที่ 3-20 mm.

โดยภาพรวม จึงไม่ควรนำไม้อัดยางประเภทนี้มาทำงานโครงสร้าง ตกแต่งภายใน หรือผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ แต่เหมาะกับการนำไปทำเป็นป้ายโฆษณา ฉากกั้น พื้น ผนัง หรือชั้นวางของมากกว่า

ไม้อัดยางสัก

ไม้อัดยางชนิดนี้เป็นไม้อัดยางที่เกิดจากการนำแผ่นวีเนียร์เยื่อไม้ของต้นสักมาแปะทับกับแผ่นไม้อัด โดยไม้อัดยางสักจะมีความหนาแน่นและทนทานมากกว่าไม้อัดยางทั่วไป เนื่องจากการประสานของไม้อัดยางสักนั้นจะมีการจัดแผ่นไม้แต่ละแผ่นให้แนวเสี้ยนขวางตั้งฉากกัน เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงและลดการขยายตัวในระนาบของแผ่นไม้ให้ได้น้อยที่สุด

ไม้อัดยางสักมักจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการนำมาใช้ตกแต่งภายใน ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือ Top ของโต๊ะหรือเคาน์เตอร์ต่าง ๆ เพื่อโชว์ลวดลายอันสวยงามของลายไม้ แต่อย่างไรก็ตาม การจะนำไม้อัดยางสักมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ก็ควรเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักไม่มากนัก เพื่อยืดอายุการใช้งานของไม้อัดยางประเภทนี้นั่นเอง

ไม้อัดยางไส้ OSB

ไม้อัดยางไส้ OSB หรือ Oriented Strand Board คือ การนำชิ้นไม้เล็ก ๆ ที่แบน บาง และยาว นำมาผสมกาวก่อนที่จะเรียงเสี้ยนไม้ให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน นับได้ว่าเป็นประเภทของไม้อัดยางที่มีความหนาแน่นสูงที่สุดในบรรดาไม้อัดยางทั้ง 3 แบบ โดยไม้อัดยางไส้ OSB นั้นมีความหนาแน่นมากกว่าไม้อัดยางแบบมากถึง 3 เท่า จึงทำให้ไม้อัดยางประเภทนี้สามารถรับน้ำหนักได้มาก มีความแข็งแรงและทนทาน จึงมักถูกนำไปใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ งานตกแต่งและงานก่อสร้างแทบจะทุกรูปแบบ เนื่องจากไม้อัดยางไส้ OSB นั้นนอกจากจะแข็งแรงแล้ว ก็ยังง่ายต่อการทำสีและงานปิดผิวต่าง ๆ อีกด้วย

เพียงเท่านี้ ทุกคนก็คงจะรู้ถึงความแตกต่างของไม้อัดยางแต่ละประเภทกันแล้ว และหากเลือกใช้ไม้อัดยางให้ถูกกับประเภทงาน นอกจากที่จะได้ผลงานที่สวยตรงใจแล้ว ก็ยังช่วยให้ทำงานง่าย สะดวก ประหยัดงบประมาณที่จะใช้ และได้ชิ้นงานที่มีอายุการใช้งานยืนนานด้วยล่ะ และที่สำคัญ อย่าลืมเลือกใช้ไม้อัดยางที่มีคุณภาพดีจากบริษัทผู้ผลิตที่ไว้ใจและเชื่อถือได้ อย่างเช่น AJ Plywood 
เพราะนอกจากที่เราจะเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายไม้อัดคุณภาพดีทุกชนิดจาก “ตราจระเข้” แล้ว เราก็ยังมี Option ไม้อัดยางต่าง ๆ ให้ทุกคนได้เลือกกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ไม้อัดยางเฟอร์นิเจอร์, เอ็มดีเอฟ, ปาร์ติเกิลบอร์ด หรือ ไม้อัดยางโค้ง เราก็มีให้ทุกคนเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับความต้องการของคุณ

ในฐานะผู้บริโภค การจะเลือกและคัดสรรวัสดุที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างบ้าน สร้างเฟอร์นิเจอร์ หรือสำหรับต่อยอดไอเดียมากมายที่มีอยู่ในหัว เราย่อมใช้เวลาเป็นเวลานานกว่าจะตัดสินใจเลือกซื้อวัสดุสักหนึ่งอัน และยิ่งเป็นวัสดุที่มีความสำคัญสูงอย่าง “ไม้อัด” ก็ยิ่งต้องใช้เวลาในการเลือกสรรแบรนด์ที่จะให้ความไว้วางใจและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์นี้ แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ถ้าคุณเลือกซื้อไม้อัดจาก AJ Plywood

ไม้อัด AJ Plywood

เพราะ AJ Plywood เราเป็นบริษัทที่จัดจำหน่ายและนำเข้าไม้อัดคุณภาพดีจาก “ตราจระเข้” ยี่ห้อไม้อัดที่คุณภาพไม่เป็นสองรองใครในท้องตลาด ทำให้ทุกปัญหาที่เกี่ยวกับการมองหาไม้อัดที่ไว้ใจได้สักหนึ่งอันสามารถจบได้ที่เรา เพราะเราได้คัดเลือกแต่ไม้อัดคุณภาพชั้นเลิศเพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า และไม้อัดจากตราจระเข้ก็สามารถตอบโจทย์ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างตรงจุด

ดังนั้น ในบทความนี้ AJ Plywood เลยจะพาทุกคนไปรู้จักกับ “ตราจระเข้” ผู้จัดจำหน่ายไม้อัดเครือ AJ Plywood กัน !

“ตราจระเข้” เพื่อนคู่คิด 20 ปีจาก AJ Plywood

นับเป็นเวลากว่า 20 ปี ที่บริษัท AJ Plywood ได้ดำเนินกิจการการนำเข้าและจัดจำหน่ายไม้อัดจากตราจระเข้ จึงสามารถเรียกได้ว่า ตราจระเข้นั้นอยู่กับ AJ Plywood ของเรามาตั้งแต่ก้าวแรกของการเริ่มกิจการ จนถึงวันนี้ที่ AJ Plywood ได้กลายเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านธุรกิจไม้อัดแบบครบวงจรชั้นนำและอยู่ในอันดับต้น ๆ ของประเทศ และด้วยคุณภาพของไม้อัดตราจระเข้ที่เรียกได้ว่าอยู่ในระดับ “ชั้นครู” นี่เอง ที่ทำให้ลูกค้าจากทั้งในและนอกประเทศไว้ใจที่จะเลือกซื้อไม้อัดจากเรา

ไม้อัด AJ Plywood 2

โดยไม้อัดของ AJ Plywood เป็นการนำเอา ไม้แผ่นบาง หรือ วีเนียร์ (Veneer) มาตัดท่อนซุงให้ได้ความยาวตามที่ต้องการ หลังจากนั้นจึงนำท่อนซุงที่ได้มากลึงปอกท่อนซุง หรือผ่าให้ได้ออกมาเป็นแผ่นไม้ และเมื่อได้เป็นแผ่นไม้จำนวนหลาย ๆ แผ่นแล้ว เราก็จะนำแผ่นไม้เหล่านั้นมาอัดเข้าด้วยกันโดยใช้กาวเป็นวัสดุยึดเกาะ และนำแผ่นไม้ที่ถูกประกอบเข้าด้วยกันไปผ่านการอัดด้วยความร้อน (Hot Press) จนได้ออกมาเป็นไม้อัดที่มีความหนาแน่นสูง และมีลวดลายบนผิวหน้าไม้ที่เป็นแผ่นใหญ่ มีความต่อเนื่อง มีความสวยงาม และลูกค้ายังสามารถนำไม้อัดของเราไปใช้งานได้อย่างหลากหลายอีกด้วย

ไม้อัด AJ Plywood 3

ไม้อัดคุณภาพดี คุณสมบัติชั้นเลิศจากตราจระเข้

หากถามว่าไม้อัดของตราจระเข้นั้นดีอย่างไร ทำไม AJ Plywood ถึงเลือกใช้ไม้อัดของตราจระเข้มาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี ก็คงจะตอบกันไม่หมดแน่นอน เพราะว่าไม้อัดตราจระเข้นั้นนอกจากที่จะมีคุณภาพดี อยู่ในระดับเกรด A+ แล้ว ไม้อัดของตราจระเข้นั้นก็ยังมีคุณสมบัติของไม้อัดอยู่ในระดับชั้นเลิศ ไม่ว่าจะถามหาคุณสมบัติไหนจากไม้อัด มั่นใจได้เลยว่าไม้อัดตราจระเข้นั้นมีครบทุกข้อแน่นอน

ไม่ว่าจะเป็นการมีความแข็งแรงทนทานสูง มีความคงตัว ไม่ยืดหด ไม่แตกง่าย สามารถตอกตะปูหรือใช้ตะปูควงขันใกล้ขอบแผ่นและส่วนอื่น ๆ ของไม้อัดได้รอบด้าน สามารถตัดได้ด้วยเลื่อย ฉลุง่าย ไม่มีแตกหัก จะนำมาโค้งงอแค่ไหนก็ได้โดยไม่มีการฉีกหัก สามารถรับน้ำหนักได้ในอัตราที่สูงกว่าไม้ธรรมดา และยังสามารถใช้เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี นำไปใช้ได้ในหลากหลายการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น การใช้ไม้อัดเป็นโครงในการก่อสร้าง นำไปทำเฟอร์นิเจอร์ หรือนำมาทำเป็นที่รองเตียง

ไม้อัด AJ Plywood 4

และนอกจากที่ไม้อัดของตราจระเข้จะมีคุณภาพดี มีคุณสมบัติที่ไม้อัดดี ๆ ควรมีครบทุกข้อแล้ว ที่ AJ Plywood เราก็ยังมีไม้อัดหลากหลายขนาด หลากหลายรุ่น หลากหลายชนิด และมีไม้อัดหลากหลายเกรดให้ลูกค้าได้เลือกซื้อตามจุดประสงค์การใช้งานอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น แผ่นใยไม้อัดคุณภาพสูงอย่าง ไม้ MDF, แผ่นใยไม้อัดทนความชื้นหรือ ไม้ HMR, ไม้อัดเฟอร์นิเจอร์, ไม้อัดสักอิตาลี, ไม้อัดโค้ง หรือไม้อัดทั่วไป เราก็มี

แค่เห็นตราจระเข้อยู่คู่กับไม้อัดจาก AJ Plywood ก็ไว้ใจได้เลยว่าคุณภาพเกิน 100% แน่นอน ! “อย่าลืมว่านึกถึงงานไม้อัด นึกถึงตราจระเข้”

ตามปกติเป็นที่เชื่อกันว่าไม้อัดเคลือบฟิลม์ที่ดีจะต้อง ผลิตจากไม้วีเนียร์ประเภทไม้เนื้อแข็ง ใช้กาวกันน้ำประเภท WBP Phenolic Resin ใช้ฟิลม์ที่มีคุณภาพ เช่นฟิลม์สีน้ำตาลเข้มของ DYNEA ผลิตจากโรงงานที่มีมาตรฐานในการผลิต-ควบคุมสูง

บทความนี้ จะทำให้ท่านสามารถเข้าใจมากขึ้น ในรายละเอียดของปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของไม้อัดเคลือบฟิลม์

  1. ไม้วีเนียร์ ที่ใช้ในการผลิตจะต้องเป็นไม้วีเนียร์ที่ เต็มแผ่น ไม่มีรอยต่อเพื่อความแข็งแรงของแผ่นไม้อัด และไม่มีรูกลวงหรือไส้ไม่เต็มซึ่งจะมีผลต่อการใช้งานของไม้อัดเคลือบฟิลม์นั้น
    ชนิดของไม้ – ผู้ผลิตไม้อัดเคลือบฟิลม์ที่มีคุณภาพจะเลือกใช้แต่ไม้เนื้อแข็งปานกลางขึ้นไป เช่น ไม้Birch หรือไม้ยูคาลิปตัสเนื่องจากไม้ดังกล่าวมีความแข็งแรงและราคาไม่สูงมาก ส่วนไม้ชนิดอื่นๆที่มีเนื้ออ่อน เช่นไม้สนหรือไม้ Poplarก็สามารถนำมาใช้ผลิตไม้อัดเคลือบฟิลม์ได้เช่นกัน แต่คุณภาพอาจดีไม่เท่ากับไม้เนื้อแข็ง
  2. ชนิดของกาว ในการผลิตไม้อัดมีกาวที่นิยมใช้กันดังนี้ WBP-Phenolic Glue เป็นกาวที่ดีที่สุด สามารถทนได้ทั้งน้ำและการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ​สามารถผ่านการทดสอบด้วยการนำแผ่นทดสอบไปต้มในน้ำเดือดเป็นเวลา 48 ชั่วโมง กาวชนิดนี้จึงเหมาะที่จะนำมาผลิตไม้อัดเคลือบฟิลม์ เพราะในขณะที่คอนกรีตกำลังเซ็ตตัวนั้นจะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนออกมามากมาย การใช้กาวที่ไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวย่อมมีผลต่อแผ่นไม้อัดเคลือบฟิลม์อย่างแน่นอน
  3. เนื้อฟิลม์ แน่นอนว่าหากสังเกตด้วยตาเปล่าอาจไม่รู้ว่าเนื้อฟิลม์ที่ดีนั้นต้องมีลักษณะอย่างไร แต่ในอุตสาหกรรมผลิตไม้อัดเคลือบฟิลม์จะรู้กันว่าฟิลม์ที่เป็น100% Phenolic Resin glueนั้นจะมีคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมในการป้องกันน้ำและการกัดกร่อนจากน้ำปูน จึงช่วยยืดอายุการใช้งานได้มากครั้งกว่า และทำให้งานหล่อคอนกรีตที่ได้มีความเรียบ ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณกว่าอีกด้วย
  4. กระบวนการผลิต ในการผลิตไม้อัดเคลือบฟิลม์ที่ดี จะต้องมีการควาบคุมทั้งคุณภาพของวัตถุดิบ การผลิตไม้วีเนียร์ที่มีความหนาบางสม่ำเสมอ การอบไม้วีเนียร์ที่มีมาตรฐานและการอัดด้วยเครื่องอัดที่ใช้ความดันและความร้อนเพื่อทำให้ได้ไม้อัดเคลือบฟิลม์ที่มีคุณภาพสูงที่สุด
  5. ความเรียบของแผ่นไม้อัด ก่อนทำการเคลือบด้วยฟิลม์ ไม้อัดทุกแผ่นจะต้องผ่านการแคลิเบรทเพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม้ทุกแผ่นมีความหนาที่มาตรฐานเท่ากันทั่วทั้งแผ่นเพื่อเพิ่มการยึดเกาะของฟิลม์กับแผ่นไม้อัด มีผลทำให้เมื่อนำไปใช้งานย่อมทำให้ได้เนื้องานคอนกรีตที่เรียบเหมือนกระจก (mirror concrete results)
  6. การเคลือบขอบไม้ ด้วยสีน้ำมันหรือสารเคมีที่ป้องกันน้ำอย่างน้อย 2 เที่ยวเพื่อเพิ่มความต้านทานการซึมผ่านของน้ำด้านข้างและควรพ่นซ้ำเมื่อนำไปใช้งานแล้วเพื่อรักษาความสามารถในการต้านทานน้ำด้านข้างอยู่เสมอ

ไม้อัด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอาไม้แผ่นบางหรือวีเนียร์ (Veneer) โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุงหรือผ่า ให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบางๆ หลายแผ่นมาอัดเข้าด้วยกัน โดยใช้กาวเป็นวัสดุยึดตรึง แผ่นไม้ที่นำมาอัดเข้าด้วยกันจะต้องวางในลักษณะที่แนวเสี้ยนขวางตั้งฉากซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในด้านความแข็งแรง ทั้งยังช่วยลดการขยายและหดตัวในแนวระนาบของแผ่นไม้ให้เหลือน้อยที่สุด จากนั้นนำไปผ่านการอัดด้วยความร้อน (Hot Press) เพื่อทำให้ไม้อัดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจากกระบวนการนี้จะทำให้แผ่นไม้อัดมีความหนาแน่นสูง กระบวนการผลิตไม้อัดที่ผ่านการอัดด้วยความร้อนและแรงดันนั้น นอกจากจะทำให้ความหนาแน่นของเนื้อไม้สูงกว่าไม้จริง (Solid) เป็นอย่างมากแล้ว ลวดลายบนผิวหน้าที่เป็นแผ่นใหญ่และต่อเนื่องของ Veneer ยังให้ความสวยงามอีกด้วย

กระบวนการผลิตไม้อัด
  • เริ่มจากกระบวนการนำซุง เปิดปีกไม้ โดยเครื่องเลื่อยสายพาน คือการตัดเปลือกนอกออก ให้เหลือเนื้อไม้ตามหน้าตัดซุง เป็นสี่เหลี่ยม
  • ส่งซุงเข้าต้ม เพื่อให้ไม้นิ่ม และดำเนินการสไลด์ตามแนวยาวตามขนาดท่อนซุง ออกมาเป็นแผ่นเยื่อไม้บางๆ (ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าวีเนียร์) ความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.8 -1.2 มม.
  • นำวีเนียร์ที่ได้ ผ่านเครื่องตัด เพื่อตัดริมขอบวีเนียร์ ให้เป็นเส้นตรง และตัดความยาวที่เกินมากไปออก
  • (ขั้นตอนนี้ โดยส่วนมาก จะใช้เฉพาะเกรด B ขึ้นไป ถ้าเป็นเกรดต่ำๆ หน่อย จะอาศัยวางเรียงกันโดยไม่ทำตามขั้นตอนนี้) นำวีเนียร์ ที่ตัดริม มาเย็บให้ติดกัน โดยใช้กระดาษกาวสำหรับปิดวีเนียร์ หรืออาจจะใช้เครื่องเย็บวีเนียร์ ที่เป็นลักษณะใช้เส้นกาวเย็บแทนเส้นด้าย จนได้หน้ากว้างประมาณ 1,240 มม.,ความยาวประมาณ 2,450 มม. และ หน้ากว้างประมาณ 2,450 มม., ความยาวประมาณ 1,240 มม.
  • นำวีเนียร์ที่ได้ ทากาวลาเท็กซ์อุตสาหกรรม โดยมาวางเป็นชั้นๆ สลับลายตามแนวขวางลาย และตามแนวขนานลาย ( ที่ต้องวางสลับลายระหว่างชั้นเช่นนี้ เพื่อให้เกิดการดึงตัวระหว่างผิวภายในที่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน ไม่ให้เกิดการบิดตัวโก่งงอ เมื่อทำเป็นแผ่นสำเร็จ ) จนได้ความหนาที่ต้องการ แต่จะวางทับเป็นชั้นเลขคี่เสมอ ถ้าเป็นไม้อัดเกรดดีหน่อย มักจะวางชั้นให้ได้ความหนาเกินขนาดที่ต้องการไว้ก่อน
  • นำวีเนียร์ที่วางเสร็จแล้ว ขึ้น Hot Press (เครื่องอัดแรงดันสูง เครื่องนี้จะเป็นเครื่องอัดทับ ขนาดใหญ่ ที่มีแผ่นความร้อน ถ่ายผ่านจากบอยล์เลอร์ เข้ามา ปรับตั้งอุณหภูมิได้เกิน 100 องศาขึ้นไป ) อัดทับลงไป เพื่อให้แผ่นวีเนียร์อัดประสานติดกัน พร้อมเนื้อกาว

ข้อมูลจาก : paandcasecenter

ไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ มีอยู่หลากหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งวันนี้ เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับชนิดของไม้ที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์กันว่า มีไม้ชนิดไหนบ้าง แล้วแต่ล่ะชนิดมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อให้ทุกท่านสามารถนำไปตัดสินใจในการเลือกซื้อ หรือเลือกทำเฟอร์นิเจอร์ได้

ไม้พาร์ติเกิ้ล บอร์ด (particle board)

สร้างมาจากเศษชิ้นไม้ เช่นชิปไม้ ขี้เลื่อย มาประสานกันโดยสารเคมี และนำมาทำการบดอัดด้วยความดันสูง
ข้อดี : ใช้ทดแทนไม้จริง , ราคาถูก , มีความแข็งแรง , น้ำหนักเบา
ข้อเสีย : ไม่ทนต่อความชื้น เมื่อโดนน้ำจะบวม และขึ้นรา

ไม้อัด (Plywood)

ประกอบด้วยแผ่นไม้บาง ๆ ที่ทำจากการปอกและฝานไม้ แล้วนำมาอัดทับกันเป็นแผ่น โดยมีลักษณะการวางในทิศทางสลับกันด้วยกาว แผ่นที่อยู่ผิวด้านนอกจะเป็นผิวไม้บางที่ฝานเป็นแผ่น ส่วนไม้ไส้ด้านในจะเป็นไม้ที่ได้จากการปอกการอัดชั้นขอไม้อัด
ข้อดี : แข็งแรง , ไม่บิดงอง่าย , กันปลวก , ทนความชื้น และกันน้ำได้ในระดับหนึ่ง
ข้อเสีย : มีน้ำหนักมาก , ราคาสูง , กันน้ำในปริมาณมากไม่ได้

ไม้จริง (Wood)

ไม้เต็มแผ่น แต่ละประเภทของชนิดไม้ และวิธีการเลือกใช้นั้น แล้วแต่ลักษณะประเภทงาน
ข้อดี : แข็งแรง ทนทาน สวยงาม
ข้อเสีย : น้ำหนักมาก ราคาสูงมาก

ที่มา : scrwood

ไม้อัด นอกจากจะมีหลายชนิด และหลากหลายประเภทตามการใช้งานแล้ว ยังมี เกรดไม้อัด หลายเกรดให้เลือกใช้งานอีกด้วย ซึ่งแต่ล่ะเกรดก็จะมีคุณภาพที่แตกต่างกัน แต่ในแต่ล่ะเกรดก็มีความเหมาะสมกับการใช้งานด้านต่างๆเช่นกัน ซึ่งจะมีเกรดอะไรบ้าง

ไม้อัดเกรด A

เป็นไม้อัดเกรดคุณภาพดีที่สุด มีผิวหน้าที่เรียบเนียน เนื้อไม้ด้านในแน่น ไม้เกรดนี้เหมาะที่จะนำมาทำงานก่อสร้างได้ เหมาะแก่การทำสี หรือปิดพื้นผิวต่างๆ หรือจะใช้โชว์ผิวไม้ก็ได้

ไม้อัดเกรด B

เป็นไม้อัดคุณภาพรองลงมาจากเกรด A ผิวไม้มีความเรียบน้อยกว่า เนื้อไม้มีความแน่นน้อยกว่า ไม้เกรดนี้ไม่ค่อยนิยมนำมาใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากจะได้งานคุณภาพที่ไม่ค่อยดี และนิยมใช้ในงานแพคกิ้ง หรืองานขนส่ง

ไม้อัดเกรด C

ไม้คุณภาพต่ำที่สุด ผิวไม้ไม่เรียบเนียน เนื้อไม้มีความหนาแน่นน้อยที่สุดเมื่อเที่ยบกับ 2 เกรด A และ B นิยมนำไปใช้ในงานขนส่ง งานแพคกิ้งสินค้า

เท่านี้ เมื่อเราทราบเกรดของไม้แต่ล่ะเกรดแล้ว เราก็สามารถเลือกเกรดของไม้ให้เหมาะกับการใช้งานได้ ซึ่งทางเรานั้นก็มีสินค้าไม้อัดทุกเกรดให้คุณลูกค้า ซึ่งทุกเกรดนั้นเรารับประกันคุณภาพ ทุกแผ่น ทุกเกรด

ที่มา : pova.co.th